แผนการจัดการเรียนรู้ที่
1
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
รหัสวิชา ง 23102 ชื่อวิชา พิมพ์ดีดด้วยคอมพิวเตอร์ ปีการศึกษา 2555
เรื่อง การพิมพ์แป้นเหย้า ฟ ห
ก ด า ส
ว เวลา 2 คาบ
ผู้สอน นายบุคคอรี
เหล็กหมาด
สอนวันที่
สาระสำคัญ
การฝึกทักษะเบื้องต้นในการพิมพ์
ผู้พิมพ์จะต้องฝึกพิมพ์สัมผัสได้อย่างอัตโนมัติ โดยเริ่มจากอักษรแป้นเหย้า (Home Key) คือ
แป้นอักษรที่ใช้การพิมพ์เป็นหลักโดยจะต้องวางนิ้วที่แป้นเหย้าก่อนเริ่มต้นทำการพิมพ์ทุกครั้งแป้นเหย้ามีตำแหน่งอยู่ในแถวที่
2 นับจากแถวล่างสุดของแป้นพิมพ์ (Keyboard) แป้นเหย้า ได้แก่
อักษร ฟ ห ก ด า ส
ว
การวางนิ้วบนแป้นเหย้าอย่างถูกต้องจะทำให้ผู้เรียนก้าวนิ้วไปเคาะ/ ดีดแป้นอักษรอื่น ๆ
ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
รวมทั้งเกิดทักษะในการพิมพ์ดีดที่ดี จึงจะสามารถก้าวนิ้วไปพิมพ์แป้นอักษรอื่นได้ถูกต้อง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
นักเรียนสามารถบอกความหมายของแป้นเหย้า การวางนิ้วบนแป้นเหย้า แป้น Space Bar แป้น Enter การพิมพ์อักษรแป้นเหย้า
จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
1.
สามารถอธิบายความหมายของแป้นเหย้าได้
2.
การวางนิ้วบนแป้นเหย้า ฟ ห ก
ด า ส ว
3. เคาะอักษรแป้นเหย้า ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ
4.
พิมพ์กลุ่มคำและเคาะวรรคได้ถูกต้อง
จุดประสงค์นำทาง
1. บอกความหมายของแป้นเหย้าได้ถูกต้อง
2. บอกลักษณะการวางนิ้วบนแป้นเหย้า
ฟ ห
ก ด
า ส ว
ได้อย่างถูกต้อง
3. สามารถวางนิ้วบนแป้นพิมพ์อักษรแป้นเหย้า
ได้ถูกต้อง
4. สามารถพิมพ์ผสมคำจากอักษรแป้นเหย้าได้
5. มีทักษะและพัฒนาการพิมพ์อย่างต่อเนื่อง
สาระการเรียนรู้
ตอนที่ 1 ความหมายของแป้นเหย้า
ตอนที่ 2 การวางนิ้วบนแป้นเหย้า ฟ ห ก
ด า ส
ว
ตอนที่ 3 หลักการพิมพ์สัมผัสแป้นเหย้า
ตอนที่ 4 วิธีการพิมพ์อักษรแป้นเหย้า
ตอนที่
5 การพิมพ์ผสมคำ และการเคาะวรรค
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.
นักเรียนนั่งประจำเครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์ด้วยความเป็นระเบียบ เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และตรวจความ
พร้อมของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถใช้งานได้ตามวิธีการที่ปฏิบัติมา
2. นักเรียนฟังครูชี้แจงสาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้
ของเรื่องที่จะศึกษา
เพื่อให้ทราบว่าเมื่อ
ศึกษาบทเรียนนี้แล้วนักเรียนสามารถอธิบายลักษณะของการวางนิ้วและพิมพ์ผสมคำแป้นอักษรเหย้าได้
3. ครูซักถามนักเรียนในหัวข้อเรื่อง
นักเรียนเคยได้ยินคำว่าแป้นอักษรเหย้ามาก่อนหรือไม่ ทราบหรือไม่แป้นอักษรเหย้าหมายถึงแป้นใดของเครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์อย่างไร
4. ครูสอบถามนักเรียนในห้องว่าใครมีชื่อเล่นที่ขึ้นต้นด้วยอักษร ฟ
ห ก ด า ส
ว
ครูให้ออกมาชี้บอกว่าแป้นอักษรเหย้าเหล่านี้อยู่นิ้วไหนของแป้นเหย้าของเครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์ภาษาไทย
ขั้นดำเนินการสอน
1.
นักเรียนศึกษาใบความรู้ เรื่อง การเรียนรู้อักษรแป้นเหย้า
และหลังจากนั้นฟังครูอธิบายความสำคัญของแป้น
อักษรเหย้า
ได้แก่ แป้นอักษร ฟ ห
ก ด า ส
ว
โดยครูบอกแป้นอักษรพิมพ์คอมพิวเตอร์ทีละตัวแล้วให้นักเรียนวางนิ้วตามตัวอักษรให้ถูกต้อง
2. นักเรียนฟังครูอธิบายและสาธิตการวางนิ้วบนแป้นเหย้า
แป้น Space Bar แป้น Enter การพิมพ์อักษรแป้น
เหย้า ฟ ห ก
ด า ส ว ว่านิ้วใดวางแป้นใดมีเทคนิคการวางอย่างไรและให้นักเรียนปฏิบัติตาม
3. ครูอธิบายพร้อมสาธิตการเคาะแป้นอักษรหรือการงอนิ้ว
เพื่อพิมพ์ตัวอักษรตามแป้น โดยให้นักเรียนเคาะแป้น
อักษรเหย้าพร้อมออกเสียงตามที่ครูขานนำ
4. ครูพิมพ์ตัวอย่างอักษรที่จะให้นักเรียนพิมพ์บนจอภาพ
และขานนำตัวอักษรที่พิมพ์
นักเรียนพิมพ์ตามคำขานนำ
ของครูนักเรียนพิมพ์ตามพร้อมออกเสียงพร้อม
ๆ กัน ขณะที่พิมพ์สายตาของนักเรียนอยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์
ไม่มองแป้นพิมพ์
6. นักเรียนฝึกพิมพ์ตามโปรแกรมด้วยตนเองจนคล่อง
ขั้นสรุปบทเรียน
1.
ให้นักเรียนทบทวนและสรุปปัญหาผลงานที่เกิดจากการฝึกทักษะการพิมพ์สัมผัสของตนเอง
2. นำปัญหาที่เกิดขึ้นของแต่ละบุคคลมาแก้ปัญหาในชั้นเรียน
3. ครูสรุปถึงการวางนิ้ว การพิมพ์สัมผัสแป้นเหย้า
ฟ ห
ก ด า ส
ว การพิมพ์ผสมคำ การเคาะวรรค
4. หลังเลิกเรียนนักเรียนปิดเครื่อง เลื่อนแป้นคีบอร์ดเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อนและเลื่อนเก้าอี้หลังลุกออกจากที่นั่งให้
เรียบร้อย
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งการเรียนรู้
1.
เครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์สาธิตสำหรับครู และเครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์ LCD เครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์สำหรับ
นักเรียนคนละ 1 เครื่อง
2.
ใบความรู้
3. โปรแกรมฝึกพิมพ์/เว็บไซต์
www.thaiedu.net
การวัดและประเมินผล
สิ่งที่ต้องการวัดผล
1. การวางนิ้วบนแป้นอักษรเหย้า
2. การพิมพ์ผสมคำแป้นอักษรเหย้าได้
วิธีการวัดผล
1. ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนเกี่ยวกับความตั้งใจ สนใจฟังครูอธิบายและการ
ปฏิบัติงานของนักเรียน
2. ตรวจผลงานจากใบงาน/โปรแกรม
เครื่องมือวัดผล
1. ผลการประเมินจากโปรแกรม
เกณฑ์ที่ใช้วัดผล
1. จากผลการประเมินของโปรแกรม
บันทึกผลหลังกระบวนการจัดการเรียนรู้
ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน (ดี เก่ง
มีสุข)
……………………………………………………………………………………………………………………
ปัญหา / อุปสรรค
……………………………………………………………………………………………………………………
ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข
……………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ
……………………………….…
(นายบุคคอรี เหล็กหมาด)
ตำแหน่ง อาจารย์ผู้สอน
................/................./............
ข้อเสนอแนะหัวหน้ากลุ่มสาระ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….….………………………
ลงชื่อ.................................................
( )
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
................/................./............
ข้อเสนอแนะ
หัวหน้าวิชาการ / ผู้อำนวยการโรงเรียน
................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ.............................................
( )
ตำแหน่ง
ผู้อำนวยการโรงเรียนนิรันดรวิทยา
.............../................../.............
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น